top of page

การเป็น Data Driven Organization ดีต่อองค์กรอย่างไร

Data Driven Organization คือ องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล กล่าวคือ เมื่อมีการตัดสินใจในกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นภายในองค์กร จะมีการใช้ข้อมูล เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้มักจะเป็นข้อมูลใหม่ เพื่อให้การตัดสินใจ มีความแม่นยำและเป็นปัจจุบันมากที่สุด


ก่อนหน้านี้ หลายองค์กรอาจมีการใช้ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจอยู่แล้ว เพียงแต่รูปแบบการวิเคราะห์ จะเป็นการใช้ข้อมูลในอดีต เพื่อเป็นหลักฐาน แต่หัวใจหลักของการตัดสินใจ ยังคงเน้นการใช้ประสบการณ์ หรือใช้ Gut feeling เสียมากกว่า ทำให้การตัดสินใจแต่ละครั้ง ไม่มีแพทเทิร์น ขาดความแม่นยำ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว

ตัวอย่างข้อดีในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Data Driven Organization มีดังนี้

1. ลดการหวงแหนข้อมูลภายในองค์กร เนื่องจาก องค์กรจะต้องมีการวางนโยบายในการกำกับดูแล เก็บข้อมูล และมีมาตรฐานในการ ควบคุมคุณภาพข้อมูล ทำให้แต่ละคนจะรู้ว่าตนเองมีหน้าที่อย่างไรในข้อมูลแต่ละชุด มีการจัดชั้นความลับในข้อมูล ทำให้รู้ว่า ข้อมูลแต่ละชุด ใครสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น ข้อมูลต่างๆที่เก็บในองค์กร จะต้องมีการวางกระบวนการทำงาน ที่ชัดเจน ส่งผลให้ ข้อมูลต่างๆ เข้าถึงได้ยังโปร่งใส ช่วยลดการหวงเห็นข้อมูลภายในองค์กร


2. ลดการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน และข้อมูลขยะ เป็นผลจากการทำโครงการ Data Management ที่ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ และมีการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความพร้อมใช้ ทำให้รู้ว่าองค์กรมีการเก็บข้อมูลใดไว้ที่ใดบ้าง ดังนั้นจึงช่วยลดโอกาสในการเก็บข้อมูลขยะ ขององค์กรไปในตัว


3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ทันสมัยมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลใน Excel จะเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น การใช้โปรแกรม BI , การใช้ Cloud computing ทำให้รูปแบบการทำงาน มีความ Active มากขึ้น


4. สามารถรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น จากการใช้ประโยชน์จาก Data โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทำ Automated Dashboard

การเป็น Data-Driven Orgainzation มีข้อดีมากมาย จึงไม่แปลกที่ทุกๆ องค์กรต้องการปรับเปลี่ยนเป็น Data-Driven Organization แต่คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรกันเลยทีเดียวค่ะ



Data-Driven Culture ดีต่อองค์กรอย่างไร
Data-Driven Culture ดีต่อองค์กรอย่างไร

Comments


< Previous
Next >
bottom of page