สรุป Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020 โดย Coraline
บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาชื่อดังอย่า Gartner ได้ตีพิมพ์บทความ Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020 (10 อันดับกลยุทธการใช้เทคโนโลยีสำหรับปี 2020) ซึ่งได้รับกระแสตอบรับอย่างมาก เพราะนอกจากบทความวิเคราะห์สถานการณ์แล้ว Gartner ยังมี Template และบทความที่หลายองค์กรใช้เป็นงานอ้างอิงอีกมากมาย บทความสรุปของ Coraline จะเป็นการวิเคราะห์เทคโนโลยีแต่ละตัวที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธทั้ง 10 ของ Gartner รวมไปถึง เสนอแนะแนวทางในการใช้งาน และรับมือกับเทคโนโลยีเหล่านั้น เป้าหมายของการใช้เทคโนโลยี จะอยู่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ People Centric คือ การพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ทั้งในมุมของการทำงาน และในมุมของการใช้งาน Smart Spaces คือ การพัฒนาเพื่อให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น เช่น ที่อยู่อาศัย การเดิมทาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่สามารถพัฒนาอย่างแยกส่วนกันได้ เช่น การพัฒนา AI จะเกี่ยวข้องกับ Big Data และการพัฒนาระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์อีกด้วย ส่วนในเชิงการใช้งานเอง ก็จำเป็นต้องศึกษาเทคโนโลยีที่หลากหลายด้วยเช่นกัน เช่น การพัฒนา Smart City ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการติดตั้ง IoT แต่เป็นเรื่องของการเก็บรักษาข้อมูลขนาดใหญ่ และการใช้ AR เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง เป็นต้น 10 กลยุทธด้านเทคโนโลยี ที่น่าจับตามองในปี 2020 โดย Gartner ประกอบไปด้วย 1. Hyperautomation คำว่า Hyper แปลว่า “มากเกิน” และคำว่า Automation แปลว่าอัตโนมัติ เมื่อนำมารวมกันจะแปลว่าระบบอัตโนมัติอีกขั้นหนึ่ง กล่าวคือ เป็นระบบอัตโนมัติที่เชื่อมกันหลาย ๆ ระบบ ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มากกว่าแค่เครื่องจักรกล ที่เราเคยชินกันในโครงงานอุตสาหกรรม คำว่า Hyperautomation เป็นการบอกถึงยุค Digital ที่มีการใช้ Big Data และพัฒนา AI อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อระบบต่าง ๆ มีการสร้างข้อมูล และข้อมูลนั้นถูกนำมาเชื่อมโยง ก่อให้เกิดเป็น Model ขึ้นมา ต่อมาเมื่อมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น ระบบจะวิเคราะห์สถานการณ์ และก่อให้เกิดเป็นการกระทำอย่างทันที โดยไม่ต้องมี “มนุษย์” เป็นคนตัดสินใจ ทั้งหมดนี้เป็นการรวมกันระหว่างระบบ Big Data การสร้าง Model ด้วย Machine Learning และการกระทำเสมือนพฤติกรรมความฉลาดของมนุษย์โดยคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า AI นั่นเอง ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้กลยุทธ Hyperautomation คือ การทำงานแบบทันทีทันใด โดยมีระบบเป็นตัวควบคุม เช่น รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นต้น 2. Multiexperience กลยุทธประสบการณ์ที่หลากหลาย หมายถึง การที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถต่อยอดบริการไปยังส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การที่ร้านพิซซ่าสามารถวิเคราะห์แนวทางการส่งพิซซ่า จนสามารถต่อยอดไปถึงการใช้ข้อมูลด้านการขนส่งได้ ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ เกิดจากการเชื่อมโยงข้อมูลด้วยระบบ Digital เกิดเป็นแนวคิด Synergy หรือ ทำงานร่วมกัน ที่อาจจะเป็นในเครือบริษัทเดียวกัน หรือบริษัทคู่ค้ารายอื่นก็ได้ เช่น การที่ The one card สามารถใช้คะแนนร่วมกับปั้มน้ำมันได้ อันนี้ก็ถือเป็นการ Synergy รูปแบบหนึ่ง กลไกที่สำคัญภายใน คือ ข้อมูล ทำอย่างไรให้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถเชื่อมโยง และนำไปสร้างเป็น Model (อาจจะเป็น Machine Learning) ต่อได้อย่างรวดเร็ว กรณีที่น่าจับตามอง คือ การที่ Application หรือ เว็บไซต์บางแหล่ง สามารถติดตามพฤติกรรมของเรา ซึ่งก็จะมีทั้งข้อดี และข้อเสีย เช่น อาจมีการดักฟังทางโทรศัพท์ เพื่อนำไปพัฒนา Algorithm แนะนำ Ads เป็นต้น ข้อดี คือ เราได้มองเห็น Ads ที่เรากำลังสนใจ ข้อเสีย คือ เราจะรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว 3. Democratization คือ การที่คนแต่ละคน สามารถเข้าถึงการเพิ่มทักษะเชิงเทคนิคได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องเป็นการเทรน หรือ สอนเป็นคอร์สอบรม แต่อาจจะเป็นระบบใดที่สามารถแนะนำการใช้งาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ ก็ต้องยอมรับว่า ในโลกทุกวันนี้ เทคโนโลยีต่าง ๆ มีการ Update อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผ่านอุปสรรค และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด และด้วยบทบาทของ Internet ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้โดยง่ายมากขึ้น ดังนั้น กลยุทธ Democratization นี้ จะไม่ใช่แค่กลยุทธการเตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการทำ Change Management เพื่อปรับการทำงานขององค์กร ให้มีความคล่องตัวมากขึ้นอีกด้วย 4. Human augmentation หมายถึง การใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มทักษะด้านความคิด และการตัดสินใจของมนุษย์ จะแตกต่างจากยุค Robotic ตรงที่ Robot ไม่มีกลไกคิดวิเคราะห์ และสามารถทำงานที่มีการวางคำสั่งเอาไว้เท่านั้น แต่เทคโนโลยีสำหรับ Human augmentation เป็นการใช้งานเพื่อประมวลผลอะไรบางอย่างที่ไม่ได้วางแผนคำสั่งเอาไว้ เช่น การใช้ AI เพื่อแปลภาษา เป็นต้น กลยุทธนี้เป็นกุลยุทธต่อเนื่อง จาก ทั้ง การใช้เทคโนโลยี Hyperautomation และ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบ Democratization แต่ในส่วนของ Human augmentation จะเป็นการเน้นว่า “มนุษย์” ยังไงก็มีความฉลาดที่มากกว่าเทคโนโลยี แต่จะต้องเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีให้เป็น แล้วมนุษย์จะสามารถเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเองไปได้มากกว่าเดิม 5. Transparency and tractability Transparency คือ ความโปร่งใส ในขณะที่ Traceability คือ การสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ปัญหาเรื่องการหวงแหนข้อมูล และความเข้าใจด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เป็นช่องว่างในการพัฒนา และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างมาก และดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาในขั้นวิกฤตเสียแล้ว เนื่องจาก AI เรียนรู้จาก Big Data ทำให้หลายๆ บริษัทที่ต้องการพัฒนา AI มีการเก็บ Big Data ทั้งถูก และไม่ถูกกฎหมาย . นอกจากนี้ เราจะได้ยินบ่อยครั้งว่า หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ ก็เป็นปัญหาเรื่อง Transparency ด้วยเช่นกัน เพราะต่างฝ่ายต่างหวงแหนข้อมูล จนไม่มีความโปร่งใส หลายๆ ประเทศ พยายามผลักดันกฎหมายความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งกฎที่เข้มแข็ง และถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือ European Union’s General Data Protection Regulation (GDPR) ในอนาคต สิ่งที่ควรเกิดขึ้น คือ มีการอธิบายที่มาของข้อมูล รวมไปถึง กลไกในการพัฒนา AI ก่อนที่จะนำ AI นั้นไปใช้งานจริงๆ 6. The empowered edge มีการทำนายว่า ในปี 2023 จะมีการใช้งานอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญาณให้อุปกรณ์ใกล้เคียงได้ในปริมาณมากขึ้นกว่า 20 เท่าตัว ซึ่งเป็นผลสิบเนื่องจากการพัฒนาระบบการส่งสัญญาณนี้เอง หรือที่เรียกว่า Edge นอกจากนี้ Edge computing ยังรวมไปถึงระบบการสร้างข้อมูล เก็บข้อมูล และส่งผ่านข้อมูลไปยังแหล่งข้อมูลใกล้เพียง ทำให้การใช้ข้อมูลเป็นไปได้อย่างง่าย และสะดวกขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้ เกี่ยวข้องกับ IoT โดยตรง IoT เป็นอุปกรณ์หลักในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City), ระบบทางการแพทย์ (Healthcare) และการเกษตร 7. The distributed cloud Distributed cloud เกิดจากการที่บริษัท Cloud มีการสร้าง Data Center หรือ ระบบบริหารจัดการข้อมูล เอาไว้ที่ประเทศต่างๆ แบบ Local ทำให้ผู้ใช้บริการที่อยู่ในประเทศนั้นๆ สามารถเข้าถึงระบบได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้ง การจัดกระจายงานของ Cloud ยังสามารถแบบข้ามประเทศได้อีกด้วย ทำให้ระบบมีความเสถียร และมี %Availability มากขึ้น ทำไมต้องใช้ Cloud ตอบง่ายๆ คือ บริษัท Cloud เป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวกับการบริหารข้อมูล และยังมีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรมอีกมากมายที่ทันสมัย การใช้ Cloud จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบนี้ด้วยตัวเอง อีกทั้ง การใช้บริการ Cloud ยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานอีกด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องลงทุนก้อนใหญ่เสมอไป 8. Autonomous things Autonomous things จะเน้นการใช้ AI ที่มีการกระทำเชิงกายภาพ เช่น การขับรถแบบไร้คนขับ หรือ การใช้ Drone เพื่อประโยชน์ทางการทหาร เป็นต้น 9. Practical blockchain Blockchain เป็นเทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบข้อมูลรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นห่วงโซ่ และมีการถอดรหัสในตัวเอง ทำให้ข้อมูลที่ถูกเก็บจะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ จึงเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถืออย่างมาก นอกจากนี้ ระบบ Blockchain เป็นระบบแบบ Decentralize ที่ไม่จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานกลาง ทำให้การทำงานเป็นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตาม Blockchain ยังมีข้อจำกัดด้านเทคนิคบางประการ ทำให้การใช้ Blockchain ส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนขององค์กรใหญ่ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เมื่อใดที่การพัฒนา Blockchain ค่อนข้างมีความเสถียร และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การใช้ Blockchain สำหรับอุตสาหกรรมเล็กๆ จะได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น การทำสัญญาส่งสินค้าในบริษัทขนส่ง เป็นต้น โดยคาดว่า ในปี 2023 เทคโนโลยี Blockchain จะได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้น 10. AI security AI security หรับ Gartner แบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้แก่ ความปลอดภัยของตัว Model โดยผู้พัฒนาจะต้องอธิบายกลไกของ AI เช่น เอาข้อมูลอะไรมา Train มีวิธีการ Train อย่างไร และมีการ Re-train เมื่อใด ใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ความปลอดภัยของเครื่องมืออื่นๆ ป้องกันความเสี่ยงสำหรับระบบอื่นๆ เช่น การ Hack หรือ Fraud เป็นต้น และทั้งหมดนี้ คือ 10 กลยุทธ สำหรับการใช้เทคโนโลยีสำหรับปี 2020 โดย Gartner ในทางปฏิบัติ แต่ละองค์กรสามารถเลือกที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อ เช่น หากเป็น Retail ที่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายของหน้าร้านกับลูกค้า ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้ Blockchain แต่อาจจะพิจารณา Blockchain มาใช้ในส่วนงานอื่น เช่น การทำสัญญากับ Vendor เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อสังเกตด้านเทคโนโลยี คือ สิ่งที่ Gartner กล่าวถึง จะเป็นเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เช่น Big Data, ML, AI, Blockchain และ AR เพียงแต่ ในบทความของ Gartner จะเน้นที่การใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อต่อยอดจากสิ่งเดิม อีกทั้งลักษณะการอธิบายเทคโนโลยีของ Gartner ค่อนข้างจะเสนอในเชิงที่ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ ควรเป็นสิ่งที่เราเข้าใจ และมีพื้นฐานอยู่บ้าง เนื่องจากในปี 2020 นี้ ไม่ใช่ปีแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว แต่เป็นปีแห่งการ “ใช้” เทคโนโลยีที่เหมาะสมเสียมากกว่า ใกล้จะสิ้นปีแล้ว หากองค์กรใดกำลังวางกลยุทธสำหรับปีหน้า ลองพิจารณา 10 อันดับกลยุทธการใช้เทคโนโลยีสำหรับปี 2020 จาก Gartner ได้นะคะ และหากต้องการปรึกษาการพัฒนาโครงการ Big Data และ AI สามารถติดต่อ Coraline ได้ที่ inquiry@coraline.co.th References: https://www.gartner.com/smarterwithgartner/gartner-top-10-strategic-technology-trends-for-2020
บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาชื่อดังอย่า Gartner ได้ตีพิมพ์บทควา ม Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020 (10...